แนวคิดสำคัญที่ LSP School ปลูกฝังให้กับนักเรียนคือการที่ทุกคนสามารถแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้อย่างอิสระ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพความแตกต่างซึ่งกันและกัน ในปีการศึกษานี้ ฝ่ายสุขภาวะใจ โรงเรียนเลิร์นสาธิตพัฒนา จัดกิจกรรม “Spread Positive ขอให้โลกนี้ใจดีกับทุกคน” มีไฮไลท์สำคัญคือกิจกรรม Special Talk “Don’t bully, Have empathy” โดยคุณอาภัสสร ผาติตานนท์ หรือคุณใหม่ นักจิตวิทยาการปรึกษา จากเพจ Cozybara และคุณวรัทยา ดีสมเลิศ หรือคุณไข่มุก ศิลปินและอดีตสมาชิก BNK48 มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการฝึก Empathy และการรับมือกับความคิดเห็นเชิงลบใน Social Media
———-
The key concept that LSP School instills in its students is the idea that everyone can express their true selves freely, based on mutual respect for each other’s differences. In this academic year, the Mental Wellness Department of Learn Satit Development School organized the event “Spread Positive, May the World Be Kind to Everyone.” A highlight of the event was the Special Talk “Don’t Bully, Have Empathy,” featuring Ms. Apatsara Phatitanon, also known as Mai, a counseling psychologist from the Cozybara page, and Ms. Warataya Deesomlert, known as Kaimook, an artist and former member of BNK48, who discussed practicing empathy and coping with negative comments on social media.
Bully กับผลกระทบที่ฝังใจผู้ถูกกระทำ
Bullying and the lasting impact on the victims.
คุณใหม่กล่าวถึงว่า ‘จุดเริ่มต้นของการ Bully มักเกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างบุคคล’ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างในเรื่องเพศ เชื้อชาติหรือสถานะ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ฉากหนึ่งในซีรีส์เรื่อง F4 และภาพยนตร์ Mean Girl ที่ตัวละครหลักโดนเพื่อน ๆ รุมแกล้งเพียงเพราะมีฐานะยากจน เมื่อเห็นว่าคนอื่นแตกต่างจากตนเองก็จะมองว่าคน ๆ นั้นแปลกและเกิดการกลั่นแกล้งขึ้น
———-
Khun Mai mentioned that “the starting point of bullying often arises from differences between individuals,” whether it be differences in gender, race, or status. For example, in a scene from the series F4 and the movie Mean Girls, the main character is bullied by friends simply because of their poor background. When they see someone different from themselves, they perceive that person as strange, leading to bullying behavior.
คุณไข่มุกเล่าถึงประสบการณ์เป็นผู้ที่ถูก Cyber Bullying ในช่วงอายุ 18-19 ปี ตอนที่คุณไข่มุกเริ่มทำงานในวงการบันเทิง ผู้คนย่อมคาดหวังว่าศิลปินจะต้องมีรูปร่างและหน้าตาสวยงามตามมาตรฐานที่ตนเองคิดไว้ และเมื่อคน ๆ นั้นไม่ได้ตรงตามภาพที่เคยเจอ ก็จะแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ ซึ่งคุณไข่มุกเองก็เป็นหนึ่งในคนที่ถูกวิจารณ์ในแง่ลบผ่าน Social Media อยู่เสมอ
สาเหตุของการ Bully ภายในจิตใจของผู้กระทำ อาจเกิดจากความรู้สึกต้องการการยอมรับ ความไม่มั่นคงในใจ หรือความเคยชินกับวัฒนธรรมที่เห็นใครทำอย่างไร เราก็ทำตามแบบนั้น มองว่าการแกล้งกันเป็นเรื่องปกติ ทุกครั้งที่เกิดการกลั่นแกล้งกันทั้งทางคำพูดล้อเลียน กิริยาท่าทางหรือการใช้กำลัง ล้วนส่งผลให้เกิดบาดแผลทั้งทางร่างกายและจิตใจ คุณใหม่กล่าวว่าเราทุกคนอาจจะเคยเป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ หากในวันนี้เราตระหนักได้ว่าเคยเผลอไปแกล้งคนอื่นแล้วรู้สึกผิด ก็ควรที่จะขอโทษและไม่ทำแบบนั้นอีก
ในมุมมองคนที่ถูกกระทำอย่างคุณไข่มุก กว่าจะผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้นมาได้ ค่อนข้างใช้เวลารักษาใจนานพอสมควร คุณไข่มุกได้แบ่งปันวิธีจัดการตัวเองเพื่อผ่านช่วงเวลาที่เจ็บปวดนั้นมาได้ด้วยการทำกิจกรรมที่เราชอบและอยู่กับคนที่เรารัก เพื่อทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สบายใจและปลดปล่อยความคิดออกไป
———-
Khun Kaimook shared her experience of being a victim of cyberbullying at the age of 18-19, when she started working in the entertainment industry. People tend to expect that artists should have a beautiful appearance according to their own standards, and when someone does not match the image they are familiar with, they often express negative opinions. Khun Kaimook herself has been one of those who has faced constant negative criticism on social media.
———-
The reasons for bullying within the minds of the perpetrators may stem from a desire for acceptance, insecurity, or a familiarity with a culture where we mimic the actions of others. They view teasing as a normal occurrence. Every instance of bullying, whether through mocking words, gestures, or physical force, results in both physical and psychological scars. Khun Mai stated that we all may have been both the perpetrator and the victim at some point. If today we realize that we have inadvertently bullied someone and feel remorseful, we should apologize and refrain from such behavior in the future.
———-
From the perspective of someone who has been wronged like you, Kaimook, it takes quite a long time to heal from such difficult moments. You have shared how you managed to get through that painful period by engaging in activities you enjoy and spending time with loved ones, which helped you feel relaxed, at ease, and able to release your thoughts.
Empathy สิ่งที่ทุกคนควรมีให้แก่กัน
Empathy is something that everyone should have for one another.
เราสามารถสร้างสังคมที่ลดการ Bully ได้ด้วยการเห็นอกเห็นใจคนรอบข้าง เคารพในความแตกต่างของแต่ละบุคคลรวมถึงรู้จักที่จะปรับตัวเข้าหาผู้อื่น คุณไข่มุกกล่าว คุณใหม่ได้แนะนำเพิ่มเติมในส่วนของการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนนั้น ส่วนสำคัญที่จะทำให้ปัญหานี้น้อยลงก็คือ ผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง คุณครูที่จะต้องช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและสอนให้เด็ก ๆ ได้รู้ว่าการรังแกผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
———-
“We can create a society that reduces bullying by showing empathy towards those around us, respecting the differences of each individual, and learning to adapt to others,” said Khun Kaimuk. Khun Mai has further suggested that an important aspect to reduce the issue of bullying in schools is the involvement of adults, whether they are parents or teachers, who need to work together to create a positive environment and teach children that bullying others is unacceptable.