การเรียนรู้วิชาภาษาไทยที่ทั้งสนุกและไม่ซ้ำใคร สามารถเกิดขึ้นได้เฉกเช่นโครงการ “สรรพวิทยา อักษราสุนทร ครั้งที่ 3” เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา จัดขึ้นโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเลิร์นสาธิตพัฒนา เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้นักเรียนสืบทอดเอกลักษณ์ความเป็นไทย ฝึกฝนทักษะทางด้านภาษาและการสื่อสารผ่านการทำกิจกรรมแข่งขันและการแสดงละครเวที
———-
Thai language can be studied with fun, similar to what the 3th Sappawittaya Aksarasuntorn did back on July 11, 2024. Hosted by Thai Language Department, this activity encourages students to embrace Thai cultural heritage as well as provides an opportunity for students to practice Thai language skill and communication via competition and stage performance.
จากวรรณกรรมสู่ละครเวทีในรูปแบบที่แตกต่าง
From Literature to New Stage Performance
การจัดทำโครงการ 2 ปีที่ผ่านมา ทางกลุ่มสาระฯ ภาษาไทยได้หยิบยก ‘พระอภัยมณี’ และ ‘แผลเก่า’ วรรณคดีหรือวรรณกรรมที่โด่งดังมาเล่าเรื่องราวใหม่ในรูปแบบของละครเวที ซึ่งในปีนี้ได้เพิ่มความท้าทายขึ้นไปอีกระดับด้วยการนำวรรณกรรมสุดคลาสสิกอย่าง ‘Alice in Wonderland’ มาสร้างเป็นละครเวทีในชื่อเรื่อง “The lost rabbit กระต่ายที่หายไป”
The lost rabbit เป็นเรื่องราวของ ‘อลิส’ สาวน้อยที่ต้องการค้นหาคำตอบบางอย่างที่อัดอั้นภายในใจ จากนั้นชีวิตของเธอก็เปลี่ยนไป เมื่อเธอพบกับกระต่ายขาวที่พาเธอไปอยู่ในดินแดน Underland ดินแดนที่ทำให้เธอต้องต่อสู้กับมนุษย์ อมนุษย์ และความคิดของตนเองจนค้นพบกับคำตอบที่ตามหาในที่สุด
———-
In the previous 2 years, Thai Language Department used “Phra Aphai Mani” and “Plae-Kao”, famous literary pieces, for stage performances. This year was different, however, for the department used “Alice in Wonderland” and adapted it into the unique performance call “The Lost Rabbit.”
“The Lost Rabbit” is the story of Alice, a young girl who is seeking for answers to questions in her heart. Her life is changed forever when she meets a white rabbit that takes her to Underland, the land where she has to find humans, non-humans, and her own thoughts until she finally discovers the answers to the lingering questions.
การแสดงสะท้อนตัวตนที่ซ่อนอยู่
Performance Reflecting Hidden Identities
การแสดงนำพาให้เราร่วมลุ้นไปกับการค้นหาปริศนาภายในใจของอลิส ระหว่างการดำเนินเรื่องมีตัวละครหลากหลายบทบาทที่ร่วมกันค่อย ๆ ดึงคำตอบนั้นออกมา ซึ่งสิ่งที่อลิสค้นพบนั่นคือการรับฟังความคิดและความรู้สึกภายในตัวเอง ทำความเข้าใจว่าทุกคนมีความแตกต่างควรเคารพกันและกัน มั่นใจในความเป็นตัวเอง เพราะความมั่นใจนี้อาจจะทำให้เรามีโอกาสพบกับสิ่งใหม่ที่ไม่คาดคิดก็เป็นได้
———-
The performance took the audience to Alice’s journey to find the answers to her questions. As the story progressed, multiple characters in the story helped her discover such answers. She finally learned to listen to her thought and feeling within, as well as understand that each person has their own uniqueness. This would help her to also respect other people’s differences and confidence, for they might lead to something new.
เหมือนหลุดเข้าไปในโลก Underland
As If Being Transported to Underland
นอกจากแนวคิดการสร้างสรรค์เรื่องราวจากวรรณกรรมสุดคลาสสิกให้มีลูกเล่นใหม่ ๆ แล้ว ในด้านของการแสดงถือว่านักเรียนของเราถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมบทบาท รวมถึงการเซ็ทฉากต่างๆ ดนตรีประกอบ และผู้ทำหน้าที่เบื้องหลังในการคุมแสง สี เสียง กับลำดับการแสดง ต้องขอชื่นชมทีมคุณครูและนักเรียนทุกคน เพราะภาพรวมของการแสดงนี้สามารถสะกดทุกสายตา
———-
Apart from adapting classic literature into new performance, our students were also able to express themselves on stage and set up the performance, including settings, sound effects, and backstage staff management, very well. This is thanks to students and teachers whose effort finally yielded a great, captivating performance.
นักเรียนและผู้ปกครองทุกท่านสามารถชมบรรยากาศการแสดง The lost rabbit พร้อมรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรมจากอัลบั้มด้านล่างนี้
———-
Students and parents can watch “The Lost Rabbit” and see the name of staff involved from the album below.