คณะสถาปัตย์ ภาคอินเตอร์ นับเป็นคณะที่มีความท้าทายคณะหนึ่งสำหรับนักเรียนที่ชื่นชอบด้านการออกแบบ โดยเฉพาะการรวบรวมผลงานเพื่อสอบในรอบ Portfolio

ศีลวัต ศตเมธ หรือ ‘ชิน’ นักเรียนโรงเรียนเลิร์นสาธิตพัฒนา สายการเรียน Commercial Arts (Fine Arts and Design) ประสบผลสำเร็จในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS67 รอบ Portfolio โดยได้รับคัดเลือกถึง 3 มหาวิทยาลัย คือ DCD ม.ศิลปากร , CDP ม.มหิดล และ CommDe จุฬาฯ
ปัจจุบันชินเลือกตอบรับ CommDe CU (Communication Design) หรือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ โดยจากเกณฑ์การรับสมัครปี 2567 ที่ผ่านมา ทางจุฬาฯ รับผู้ผ่านการคัดเลือกเพียง 50 คนในรอบ Portfolio
ตัวอย่างผลงานที่ใช้สอบเข้า CommDe CU รอบ Portfolio

ในการเตรียมแฟ้มสะสมผลงานทาง LSP School คุณครูที่ปรึกษาและวิทยากรร่วมกันในการให้คำแนะนำ ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมผลงานจนถึงการสอบสัมภาษณ์ ชินได้มีการเปิดเผยเพิ่มเติมว่า LSP School มีส่วนช่วยอย่างมากในการเชิญวิทยากรเข้ามาช่วยตรวจสอบ Portfolio ทำให้สามารถแก้ไขได้ตรงจุด
ซึ่งตัวอย่างผลงานของชิน ที่อ้างอิงจากโจทย์ที่ทาง CommDe จุฬาฯ กำหนดกับคำถามที่ว่า “ในอนาคตอันใกล้ AI จะมีผลอะไรเกี่ยวกับ Communication Designer บ้าง” ซึ่งชินตอบคำถามนี้ผ่านโปรเจกต์ The pencil partner poster มองว่า AI ไม่ได้เข้ามาแทนที่ดีไซน์เนอร์ทั้งหมด แต่เป็นเครื่องมือหนึ่งที่คอยประยุกต์การใช้งานให้กับดีไซน์เนอร์แทน โดยใช้ดินสอเป็นตัวแทนดีไซน์เนอร์ และ AI เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ในแต่ละโปสเตอร์



เงื่อนไขการสอบเข้า CommDe CU รอบ Portfolio มีอะไรบ้าง ?

ในการสอบเข้า CommDe CU รอบ Portfolio ปี 2567 มีการพิจารณา 4 อย่างด้วยกัน คะแนนที่ชินเลือกยื่นใช้ทั้ง 4 เกณฑ์มีดังนี้
เกณฑ์แรก คือ คะแนนภาษาอังกฤษ : ชินเลือกใช้คะแนน IELTS
เกณฑ์ที่สอง คือ ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ : ชินเลือกใช้คะแนน SAT MATH
เกณฑ์ที่สาม เป็นผลงาน Portfolio 12 ชิ้นงาน
และสุดท้ายเป็นการทดสอบ Skill Test กับสอบสัมภาษณ์ โดยชินเลือกใช้คะแนน IELTS และคะแนน SAT Math ในการยื่นสอบเข้า
เทคนิคการเตรียมสอบ SAT Math ของชิน คือ การฝึกทำแบบฝึกหัดเรื่อย ๆ ส่วนเทคนิคการทำข้อสอบ IELTS เน้นการใช้ภาษาอังกฤษให้อยู่ในวิถีชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น ดู Youtube , คุยกับเพื่อนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยเสริมทักษะการ Writing and Speaking มากขึ้น
จุดเริ่มต้นที่ทำให้สนใจศิลปะ

“ตอนแรกผมเข้ามาในสาย Science & Math เป็น Track Engineering และย้ายสายมา Fine Art ตอนม.5 เทอม 2 ครับ” ชินกล่าว ในการตัดสินใจย้ายจากคณะวิศวกรรมศาสตร์สู่สายศิลปะอย่างคณะนิเทศศิลป์ มาจากความชอบในการวาดรูปตั้งแต่ม.ต้น จุดประกายสำคัญอีกอย่างคือการเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน ได้รับรางวัลที่ 1 จากการประกวดวาดภาพ ทำให้เจ้าตัวปรึกษากับครูและตัดสินใจย้ายสายการเรียน
LSP School และ FAC เบื้องหลังความสำเร็จ
ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

“การเชิญวิทยากรทาง Factory Art Centre (FAC) เข้ามาตรวจ Portfolio เข้ามา Check Up ว่าเราควรทำอะไร เข้ามาติดตามผลงาน อันนี้คือช่วยได้เยอะมาก ๆ” ชินกล่าว
โดยในขั้นตอนสุดท้ายของการสอบเข้า คือ การสอบสัมภาษณ์ ทาง LSP School ได้เชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์ทางด้านศิลปะมาช่วยเตรียมความพร้อมให้ชินอย่างเข้มข้น พี่ ๆ จากสตูดิโอ FAC คอยแนะแนวคำถามเกี่ยวกับ Art และ Design ชินกล่าวว่าตนได้ใช้เวลาฝึกถามตอบจากคำถามเหล่านั้นด้วย
เพราะสำหรับการแข่งขันในสนามที่มีชื่อว่า TCAS67 เป้าหมายสำคัญของโรงเรียนเลิร์นสาธิตพัฒนา คือ “ทำให้นักเรียนทุกคนประสบความสำเร็จในแบบฉบับของตนเองให้ได้มากที่สุด”
ฝากถึงรุ่นน้องที่กำลังจะเข้า CommDe CU

“เป็นตัวเองให้มากๆ ในชิ้นงาน”
ชินกล่าวว่า ส่วนหนึ่งที่ทางคณะจะรู้จักเราได้ดีก็คือผลงานของเราเอง ดังนั้นชิ้นงานจึงเป็นพื้นที่ที่จะแสดงตัวตนของเราได้มากที่สุด
สิ่งที่ชินแนะนำต่อมาคือ Time Management นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในการสอบรอบ Portfolio เข้าคณะ CommDe CU มีหลายสิ่งที่ต้องเตรียมตัวเยอะพอสมควร การแบ่งเวลาให้ดีและใส่ใจกับชิ้นงานจะช่วยให้ผ่านไปได้
สามารถเข้ามารับชมบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากชิน หนึ่งในนักเรียนม.ปลายจากโรงเรียนเลิร์นสาธิตพัฒนา กับการเล่าเรื่องราวเส้นทางความสำเร็จในสนามแข่งขัน TCAS67 ที่มีโรงเรียนเป็นบทบาทสำคัญได้ที่นี่